ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางนี้นะครับ


รายละเอียด เครื่องช่วยหายใจสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย VITAE 40 Portable Transport Ventilator HERSILL
เครื่องช่วยหายใจสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย VITAE 40 Portable Transport Ventilator HERSILL
เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดัน ขนาดเล็ก
ยี่ห้อ HERSILL รุ่น VITAE 40
1. วัตถุประสงค์การใช้งาน เป็นเครื่องช่วยหายใจที่สามารถใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินได้ ทั้งในโรงพยาบาล ในรถพยาบาลหรือเฮลิคอปเตอร์
2. คุณลักษณะทั่วไป
2.1 เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิด volume- controlled และ pressure-controlled
2.2 สามารถใช้ช่วยหายใจผู้ป่วยได้ทั้งเด็กโตถึงผู้ใหญ่
2.3 สามารถเคลื่อนย้ายตามผู้ป่วยได้ทั้งในโรงพยาบาล บนรถพยาบาล เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน
2.4 โดยมีปุ่มกดบนเครื่องช่วยหายใจในโหมด CPR โดยมีฟังก์ชันสำหรับ CPR ดังต่อไปนี้
2.4.1 CPR Semi-Auto
2.4.2 CPR Auto
2.4.3 CPR Auto –Compressor
2.5 มีแบตเตอรี่สามารถใช้งานแบบปกติได้ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง โดยสามารถใช้แบตเตอรี่ภายในตัวเครื่อง 5 ชั่วโมง และสามารถรองรับการใช้ Pluscell Battery อีก 7ชั่วโมง
2.6 น้ำหนักของเครื่องรวมแบตเตอรี่ไม่เกินกว่า 1.4 กิโลกรัม
2.7 สามารถใช้งานได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 100 - 240 V, 50/60 Hz และไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ 19V +5/-3 VDC
2.8 ผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือที่ใช้บนอากาศยานหรือเฮลิคอปเตอร์ RTCA DO-160G
2.9 ผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ IEC/EN 60601-1-2, EN 794-3 และ ISO10651-3
2.10 โดยภายในตัวเครื่องมีเซ็นเซอร์สำหรับชดเชยอุณหภูมิและความดันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปขณะใช้งานบนอากาศยาน ที่ระดับความสูงถึง 4000 เมตร (13123 ฟุต) และความกดอากาศ (Atmospheric pressure) 570 ถึง 1200 hPa เพื่อให้ได้ค่าของ flow ความดันและปริมาตรที่ถูกต้อง ระหว่างที่มีการใช้เครื่องช่วยหายใจในขณะนั้น
2.11 ตัวเครื่องออกแบบให้มีมาตรฐาน การป้องฝุ่นและน้าของเครื่องจักร (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) IP
(International Protection Standard) ไม่ต่ากว่า IP44
3. คุณลักษณะเฉพาะสามารถเลือกลักษณะการทางานของการช่วยหายใจ (Type of Ventilation) ดังนี้
3.1 ชนิดควบคุมด้วยปริมาตร( Volume controlled modes)
3.1.1 ชนิดควบคุมด้วยปริมาตร(VCV)
3.1.2 ชนิดควบคุมการหายใจแบบ Asist/Control Mode(ACV)
3.1.3 ชนิดควบคุมการหายใจด้วยเครื่องสลับกับการให้คนไข้หายใจเองเป็นช่วงๆ (SIMV)
3.1.4 ชนิดควบคุมการหายใจด้วยเครื่องสลับกับการให้คนไข้หายใจเองเป็นช่วงๆพร้อมด้วยแรงดันช่วยเสริม(SIMV-PS)
3.1.5 ชนิด APVG (Adaptive Pressure with Volume Guaranteed Ventilation) ช่วยให้แพทย์กำหนดระดับ minute volume ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย จากนั้นเครื่องจะใช้ค่าดังกล่าวนี้ไปคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง Tidal Volume และ Respiratory rate ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ minute volume ตามที่เราต้องการโดยเครื่องจะติดตามวัดปริมาตรของลมและอัตราการหายใจที่ผู้ป่วยทำได้แล้วคำนวณค่า MV ของผู้ป่วยออกมา ถ้าค่า MV ที่ผู้ป่วยหายใจอยู่ยังไม่ตรงตามเป้าหมาย เครื่องจะปรับการช่วยเพิ่มเติมให้ โดยเพิ่มระดับ inspiratory pressure หรือเพิ่ม RR ของเครื่องให้ จนกระทั่งได้ MV ที่แพทย์กำหนดไว้ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
3.2 ชนิดควบคุมด้วยความดัน (Pressure controlled mode)
3.2.1 ชนิด ควบคุมด้วยแรงดัน (PCV)
3.2.2 ชนิดควบคุมการหายใจแบบ Asist/Control Mode (PCV-ACV)
3.2.3 ชนิดชนิดควบคุมการหายใจด้วยเครื่องสลับกับการหายใจเอง (PCV-SIMV)
3.2.4 ชนิดช่วยหายใจโดยใช้ความดันบวก 2 ระดับเป็น Pressure control ventilation ที่ยอมให้ผู้ป่วยมีการหายใจเองร่วมด้วยอย่างเป็นอิสระ Free Spontaneous Breathing during mechanical ventilation) เหมือนหายใจบน CPAP สองระดับที่แตกต่างกันสามารถปรับ Pressure ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย (PCV-SIMV-PS (biPAP)
3.2.5 ชนิดให้ผู้ป่วยหายใจเข้าและออกเองในภาวะแรงดันอากาศที่เป็นบวก CPAP: Continuous Positive Airway Pressure Ventilation (+NIV)
3.2.6 ชนิดให้ผู้ป่วยหายใจเข้าและออกเองในภาวะแรงดันอากาศที่เป็นบวกที่สามารถตั้งค่าการช่วยการหายใจด้วยแรงดันบวกเสริมได้ โดยมีการตั้งค่า back up apnea ventilation ไว้ กรณีที่อยู่ๆ ผู้ป่วยเกิดขี้เกียจหายใจขึ้นมาเครื่องจะต้องพร้อมที่จะช่วยเสมอ CPAP-PS: CPAP with Pressure Support (+NIV and Apnea Ventilation)
3.3 ชนิดกำหนดรูปแบบการช่วยหายใจได้ทั้งแบบ Invasive ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และ Non-Invasive ในผู้ป่วยที่ใส่หน้ากากหายใจ
3.4 ปรับตั้งอัตราการหายใจ (RR) ได้ตั้งแต่ 3 ถึง 80 ครั้งต่อนาที
3.5 ปรับตั้งค่าแรงดันในการหายใจเข้า (Inspiratory Pressure) ได้ตั้งแต่ 5 ถึง 60 มิลลิบาร์
3.6 ปรับตั้งค่าแรงดันสูงสุดขณะหายใจเข้า (Pmax) ได้ตั้งแต่ 5 ถึง 60 มิลลิบาร์
3.7 ปรับตั้งเวลาการหายใจเข้า (Ti) ได้ตั้งแต่ 0.5 ถึง 5 วินาที
3.8 ปรับตั้งค่าปริมาตรการหายใจแต่ละครั้ง (VT)ได้ตั้งแต่ 5 ถึง 3,000 มิลลิลิตร โดยปรับค่าได้ตั้งแต่ 50 ถึง 1,500 มิลลิลิตรในVolume modes
3.9 ปรับตั้งแรงดันบวกขณะหายใจออก (PEEP) ได้ตั้งแต่ 0 ถึง 25 มิลลิบาร์
3.10 ปรับตั้งค่าเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนได้แบบ 100%O2 หรือ O2/air mixได้ตั้งแต่ 40 ถึง 100% (ค่าที่ได้จริงขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของอากาศและแรงดันเฉลี่ยในทางเดินหายใจ)
3.11 ปรับตั้งค่าการกระตุ้นเครื่องช่วยหายใจโดยผู้ป่วย (Trigger sensitivity) ชนิด Flow trigger ระดับความไวตั้งแต่ 1 ถึง 15 ลิตรต่อนาที
4. ส่วนแสดงผลและข้อมูล จะแสดงข้อมูลต่างๆ บนหน้าจอที่ติดอยู่กับตัวเครื่อง สามารถแสดงค่าต่างๆของเครื่องและผู้ป่วยได้ชัดเจน โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.1 หน้าจอภาพขนาดไม่น้อยกว่า 4.3 นิ้ว ชนิด TFT colour screen พร้อม night Vision
4.2 สามารถแสดงค่าที่ตั้งและค่าที่วัดได้จากผู้ป่วยพร้อมแสดงกราฟของแรงดันในระบบทางเดินหายใจ (Paw/t) และ อัตราการไหล (Flow/t)
4.3 สามารถบันทึกและเรียกดูเหตุการณ์ย้อนหลังเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า รวมทั้งบันทึกสัญญาณเตือนต่างๆ (Event Log) ได้
4.4 แสดงค่าแรงดันที่วัดได้สูงสุด (Peak airway pressure, PIP)
4.5 แสดงค่าปริมาตรลมหายใจในแต่ละครั้ง (VTe)
4.6 แสดงค่าอัตราการหายใจของผู้ป่วยได้ (RR)
4.7 แสดงค่าปริมาตรในการหายใจเฉลี่ยต่อนาที (MVe)
4.8 แสดงgraphs- Pressure
- Volume
- Flow
- Loop of Pressure/Flow
- Loop of Volume/Flow
- Loop of Volume/Pressure
4.9 และTrends of:
- VM trend
- Ppeak trend
5. มีระบบสัญญาณเตือนจะแสดงที่แถบด้านบนของหน้าจอ แถบนี้เปลี่ยนจากสีน้ำเงินถึงแดงเหลืองเข้มหรือเหลืองอ่อนขึ้นอยู่กับลำดับความสาคัญสูงสุดโดยสามารถแสดงหมายเลขรหัสการเตือนภัยแต่ละรายการได้บอกสาเหตุของความผิดปกติโดยสัญญาณเตือนเป็นไปตามstandard IEC 60601-1-8. โดยเตือนค่าต่อไปนี้ได้เป็นอย่างน้อย
5.1.1.1 ความดันในระบบทางเดินหายใจสูงกว่าค่าจำกัดที่ตั้งไว้ (Paw High)
5.1.1.2 ปริมาตรในการหายใจเฉลี่ยต่อนาทีสูงและต่ำกว่าค่าจำกัดที่ตั้งไว้ (MVe High/Low)
5.1.1.3 เมื่อผู้ป่วยไม่มีการแลกเปลี่ยนอากาศกับเครื่องช่วยหายใจภายใน 20 วินาที จะมีการแจ้งเตือน (Apnea)
5.1.1.4 เกิดการหลุดของสายวงจรช่วยหายใจ (Disconnection)
5.1.1.5 การรั่วของระบบและสายช่วยหายใจ (Leakage)
5.1.1.6 แบตเตอรี่ต่ำ (Battery low)
6. อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
6.1 ชุดสายท่อช่วยหายใจ จำนวน 2 ชุด
6.2 ชุดวาวล์ช่วยหายใจ (Breathing Valve) จำนวน 2 ชิ้น
6.3 ชุดปอดเทียม (Test lung) จำนวน 1 ชิ้น
6.4 ชุดแขวนเครื่องบนรถพยาบาลรองรับมาตรฐาน10G(EN1789) จำนวน 1 ชุด
6.5 สายนำออกซิเจนเข้าเครื่อง จำนวน 1 ชุด
6.6 คู่มือการใช้งานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ จำนวน 1 เล่ม
6.7 เสาฐานล้อ เพื่อยึดตัวเครื่อง จำนวน 1 เสา
#เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันขนาดเล็ก
#HERSILL #VITAE40 #เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดัน #เครื่องช่วยหายใจVITAE40
link สินค้า
สินค้าที่คล้ายกัน

เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดัน VELA Ventilator VELA Plus VYAIRE

เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ Resuscitation ventilator X-CPR CU-Medical

เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรสำหรับทารกแรกเกิด Non-invasive ventilator NV9/8/7 Comen

เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรสำหรับทารกแรกเกิด Infant ventilator NV6 Comen
