ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางนี้นะครับ
รายละเอียด เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิค พร้อมภาควัดออกซิเจนในเลือด DFM100 Philips
เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิค พร้อมภาควัดออกซิเจนในเลือด รุ่น DFM100 ยี่ห้อ Philips
1. วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยฟื้นคืนคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีอาการเต้นผิดปกติกลับคืนสู่สภาวะปกติขณะฉุกเฉิน
2. คุณลักษณะทั่วไป
2.1 เป็นเครื่องกระตุกหัวใจขนาดกะทัดรัด มีหูหิ้วในตัว เคลื่อนย้ายได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยน้ำหนัก ไม่เกิน 7 กิโลกรัม รวมแบตเตอรี่
2.2 สามารถใช้กระตุกหัวใจได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม
2.3 ตัวเครื่องรองรับโหมดการทำงาน ดังนี้
- ภาคกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า(Manual Defibrillation)
- ภาคกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ พร้อมระบบแนะนำด้วยเสียง (Automated External Defibrillation)
- ภาคกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบ Synchronized Cardioversion
- ภาคติดตามการทำงานของหัวใจ (Monitor)
- ภาคกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า (Pacemaker)
- ภาคการบันทึกการทำงานของหัวใจ(Recorder)
2.4 ตัวเครื่องมีระบบทดสอบพลังงานภายในตัวเครื่อง (Operation Check) และมีสัญลักษณ์บ่งชี้ว่าเครื่องมีความพร้อมสามารถใช้งาน (Ready for use indicator) โดยตัวเครื่องจะทำการทดสอบแบตเตอรี่อัตโนมัติทุกชั่วโมง
2.5 ตัวเครื่องมีช่องเสียบUSB สำหรับรองรับการอัพเกรดซอฟแวร์ใหม่ในอนาคตได้
2.6 ตัวเครื่องมีมาตรฐานความปลอดภัย(Safety)EN 60601-2-4:2003, EN 60601-1:1990 และผ่านมาตรฐาน IP54
3. คุณสมบัติเฉพาะ
3.1 ภาคติดตามการทำงานของหัวใจ (Monitor)
3.1.1 จอภาพแสดงสัญญาณเป็นแบบชนิด TFT Color LCD ขนาดไม่น้อยกว่า 7 นิ้ว ความละเอียดในการแสดงผลไม่น้อยกว่า 800 x 480 Pixels (VGA) และสามารถแสดงรูปคลื่นได้ไม่น้อยกว่า 3 รูปคลื่น
3.1.2 การตอบสนองความถี่ (Frequency Response) ดังนี้ ECG for Display 0.15-40 Hz, ECG for Printer 0.05-150 Hz Diagnostic , 0.15-40 Hz - ST Monitor
3.1.3 สามารถวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อย่างน้อย 3, 5 ลีดและกรณี Lead off จะแสดงคลื่นเป็น เส้นประ (dashed line) เพื่อแยกสถานะสายลีดหลุดหรือAsystoleของผู้ป่วย
3.1.4 สามารถตั้งค่าสัญญาณสูงต่ำ High – Low Limit Alarmได้
3.1.5 สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจและแสดงผลเป็นตัวเลขบนจอภาพได้ ตั้งแต่ 16 – 300 ครั้งต่อนาที (สำหรับ Adult) , 16 – 350 ครั้งต่อนาที (สำหรับ Infant/Child) พร้อมทั้งสัญญาณเตือนอัตราการเต้นของหัวใจและสามารถปรับความดังของเสียงได้อย่างอิสระ
3.1.6 ตัวเครื่องสามารถปรับขนาดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ได้ไม่น้อยกว่า 5 ระดับ เช่น ขนาด ¼x, 4x เป็นต้น และ auto Gain
3.1.7 มีการกำจัดสัญญาณรบกวน (Common Mode Rejection ratio) ไม่น้อยกว่า 96 เดซิเบล
3.1.8 มีระบบสัญญาณเตือน และตรวจจับ เมื่อหัวใจเกิดการเต้นผิดปกติ(Arrhythmia Alarm)อย่างน้อย 6 ชนิด เช่น Extreme Tachy, Extreme Brady เป็นอย่างน้อย
3.1.9 แบตเตอรี่เป็นแบบ Lithium ion เพื่อลดการเกิด Memory Effect และง่ายต่อการดูแลรักษา สามารถใช้กระตุกหัวใจได้ไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง ที่พลังงานสูงสุด หรือสามารถใช้เฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจได้อย่างน้อย 2.5 ชั่วโมง โดยวัดความดันโลหิต ทุกๆ 15 นาที และสามารถดูระดับพลังงานได้ที่ตัวแบตเตอรี่
3.2 ภาคกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
3.2.1 รูปคลื่นเป็นแบบ Biphasic Truncated Exponential
3.2.2 สามารถเลือกค่าพลังงานได้อย่างน้อย 20 ค่า ดังนี้ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,15,20,30,50,70,100,120,150,170, และ 200 จูลล์
3.2.3 ใช้เวลาสำหรับการเก็บประจุ (Charge Time) พลังงานที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่(recommended adult) ที่ 150 จูลส์ ได้ไม่เกิน 5 วินาที โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
3.2.4 มีระบบ Synchronized Cardioversion
3.2.5 เครื่องสามารถแสดงพลังงานที่จะปล่อยออกไปได้เป็นแบบดิจิตอลทำให้สามารถทราบพลังงานที่เครื่องให้กับผู้ป่วยได้
3.2.6 มีสัญญาณไฟบอกสภาวะหน้าสัมผัสของ Paddles เป็น LED 3 สี 9 ระดับ บน STERNUM PADDLE เพื่อบอกให้รู้ว่าหน้าสัมผัสและน้ำหนักในการกดอยู่ในระดับที่ดีที่สุดก่อนที่จะปล่อยพลังงาน
3.2.7 สามารถกระตุกหัวใจโดยใช้ Adhesive pads
3.2.8 มีโหมดกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติAED (Automatic External Defibrillator) พร้อมระบบภาพและเสียงแนะนำการการใช้งานกระตุกหัวใจ (Voice Prompts)
3.2.9 ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องมีปุ่ม Patient category สำหรับเลือกใช้งานกับผู้ใหญ่(Adult)หรือ เด็ก(Infant/child)ที่น้ำหนักน้อยกว่า 25 กิโลกรัมหรืออายุน้อยกว่า 8 ปีได้อย่างรวดเร็วในโหมดAED โดยเครื่องจะปรับลดค่าพลังงานที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเด็ก(Infant/Child)ให้อัตโนมัติที่ 50 จูลส์
3.2.10 ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องจะมีสัญลักษณ์บอกขั้นตอนการทำงาน 1. Select energy, 2. Charge พลังงาน 3. Shock เรียงลำดับเป็นแนวตั้งให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยแบ่งแยกสีอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
3.3 ภาคการบันทึกการทำงานของหัวใจ
3.3.1 ระบบการบันทึกเป็นแบบ Thermal Array ความกว้างของกระดาษบันทึกขนาดมาตรฐาน ไม่เกิน 50 มม.
3.3.2 ส่วนที่บันทึกสัญญาณ (Recorder) อย่างน้อยต้องสามารถบันทึกเวลา, วัน, เดือน, ปี, ลีดที่ใช้ขนาดของสัญญาณ อัตราการเต้นของหัวใจและความต้านทานไฟฟ้าของผู้ป่วย และค่าพลังงานที่กระตุกหัวใจผู้ป่วย, Drug Annotations และสามารถรายงาน การทดสอบการทำงานของเครื่อง(Operation Check Report) ได้
3.3.3 มีความเร็วในการบันทึกได้ อย่างน้อย 25 มิลลิเมตร/วินาที
3.3.4 สามารถบันทึกเหตุการณ์และเก็บข้อมูลก่อนและหลังทำการกระตุกหัวใจและเรียกบันทึกลงบนกระดาษได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
3.4 ภาคควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดภายนอก (Non Invasive Pacing)
3.4.1 รูปคลื่นสัญญาณเป็นแบบ Monophasic
3.4.2 สามารถเลือกการทำงานได้ในแบบ Demand และ Fixed
3.4.3 สามารถปรับตั้งโดยมีความกว้างของสัญญาณตั้งแต่ 20 msec. หรือ 40 msec.
3.4.4 สามารถปรับตั้งกระแสตั้งแต่ 10 – 200 mA
3.4.5 สามารถปรับตั้งสัญญาณการเต้นได้อย่างน้อยตั้งแต่ 30-180 ครั้งต่อนาที
4. อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
4.1 Lead ECG Cable จำนวน 1 ชุด
4.2 สายต่อไฟฟ้ากระแสสลับ จำนวน 1 เส้น
4.3 กระดาษบันทึก จำนวน 4 ม้วน
4.4 เจลสำหรับกระตุกหัวใจ จำนวน 1 หลอด
4.5 Multifunction Cable จำนวน 1 ชุด
4.6 Multifunction Adhesive Pads จำนวน 1 ชุด
5. เงื่อนไขเฉพาะ
5.1 รับประกันคุณภาพภายใต้การใช้งานปกติ 1 ปี เป็นเครื่องใหม่ พร้อมติดตั้งและแนะนำวิธี การใช้เครื่องให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ในระหว่างประกันผู้ขายต้องส่งเข้ามาตรวจสอบ และทำการบำรุงรักษา ทุก 6 เดือน
5.2 ผู้ขายต้องเป็นผู้แทนจำหน่ายโดยตรงจากผู้ผลิต หรือได้รับการแต่งตั้งตัวแทนจากผู้แทนจำหน่ายโดยตรง
5.3 บริษัทผู้แทนจำหน่ายต้องส่งมอบหนังสือคู่มือการใช้ การดูแลบำรุงรักษา ให้ทางโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ชุด