ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางนี้นะครับ
รายละเอียด เครื่องดมยาสลบชนิด 3 แก๊ซพร้อมเครื่องช่วยหายใจ พร้อมเครื่องวิเคราะห์แก๊ซ Fabius plus XL+Neptune NT12
เครื่องดมยาสลบชนิด 3 แก๊ซพร้อมเครื่องช่วยหายใจ
และเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ
พร้อมเครื่องวิเคราะห์แก๊ซระหว่างดมยาสลบ
Fabius plus XL+Neptune NT12
1. ความต้องการ เครื่องดมยาสลบพร้อมเครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด
2. วัตถุประสงค์ในการใช้งาน เป็นเครื่องสำหรับใช้ดมยาสลบ
3.
คุณลักษณะทั่วไป
3.1 เป็นเครื่องดมยาสลบชนิด 3 ก๊าซ คือ
ก๊าซไนตรัสออกไซด์, ก๊าซออกซิเจน และอากาศอัด สามารถเข็น
เคลื่อนย้ายได้สะดวก แข็งแรง
สามารถใช้ร่วมกับระบบจ่ายก๊าซของโรงพยาบาลได้ พร้อมเครื่องช่วยหายใจ
และอุปกรณ์ประกอบการใช้งานครบชุด
3.2 ตัวเครื่องดมยาสลบ
และเครื่องช่วยหายใจ เป็นผลิตภัณฑ์เดียวกันจากโรงงานผู้ผลิต
3.3 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเยอรมันนี
4.
คุณสมบัติเฉพาะ
4.1 เครื่องดมยาสลบ
4.1.1 โครงสร้างของเครื่องดมยาสลบทำด้วยโลหะอย่างดีไม่เป็นสนิม
อบพ่นสีอย่างดี ส่วนบนของโต๊ะ
ดมยาสลบ (Working Surface) มีส่วนสำหรับวางอุปกรณ์
4.1.2 มีที่สำหรับแขวนเครื่องทำน้ำยาสลบเหลวให้กลายเป็นไอได้
2 ตัวในแนวเดียวกัน
4.1.3 มีล้อ 4 ล้อ มีที่ล็อคล้อด้านหน้า 2 ล้อ
4.1.4 มีลิ้นชักเก็บอุปกรณ์ 3 ลิ้นชัก
4.1.5 ตัวเครื่องสามารถแขวนถังก๊าซสำรองของก๊าซ
O2 และก๊าซ N2O ได้อย่างละ
1 ถัง
4.1.6 มีหน้าปัดบอกแรงดันก๊าซออกซิเจน,
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และอากาศอัด อ่านค่าได้สะดวก
แยกก๊าซแต่ละชนิดอยู่ทางด้านหน้าเครื่องสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
4.1.7 มีระบบรักษาความปลอดภัย (Hypoxic
Guard System) เพื่อควบคุมให้มีก๊าซออกซิเจนอย่างน้อย
23
เปอร์เซ็นต์ของก๊าซผสมตลอดเวลาที่ดมยาสลบด้วยระบบ S-ORC (Sensitive Oxygen
Ratio
Controller)
4.1.8 มีวาล์วสำหรับใช้ออกซิเจนฉุกเฉิน
(Oxygen Flush Valve) อยู่ทางด้านหน้าเครื่อง ซึ่งสามารถให้
ออกซิเจนผ่านได้อย่างน้อย 55
ลิตรต่อนาที
4.1.9 มีระบบปิดการทำงานของก๊าซไนตรัสออกไซด์
กรณีที่ก๊าซออกซิเจนต่ำกว่าที่กำหนด (Oxygen
Failure Safety Valve) และมีสัญญาณเตือนพร้อมตัดวงจรของก๊าซไนตรัสออกไซด์โดยอัตโนมัติ
4.1.10 มีสวิทซ์ปรับให้เลือกการจ่ายก๊าซระหว่าง Auxiliary Fresh Gas Outlet กับ Compact Breathing System
4.1.11 มีชุด
Auxiliary Oxygen Flow Meter ประกอบมากับตัวเครื่องดมยาสลบ
4.1.12 มีระบบกำจัดก๊าซเสีย (AGS) ที่ใช้ร่วมกับระบบของโรงพยาบาลได้
4.2 เครื่องปรับอัตราการไหลของก๊าซ
4.2.1 เป็นชนิดวัดอัตราการไหลของก๊าซได้
โดยการอ่านจากลูกลอยหมุนในแท่งแก้ว
4.2.2 มีปุ่มปรับก๊าซออกซิเจน, ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และอากาศอัด
มีรายละเอียดคือ
- สามารถปรับก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนตรัสออกไซด์
ได้ตั้งแต่ 0.02
– 10 ลิตร
- สามารถปรับอากาศอัด ได้ตั้งแต่ 0.02 – 12 ลิตร
4.3 อุปกรณ์ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2 Absorber)
4.3.1 ภาชนะสำหรับบรรจุโซดาไลม์ชนิดใสชั้นเดียว
บรรจุได้ 1.5 ลิตร
4.3.2โครงเหล็กสำหรับใส่ภาชนะบรรจุโซดาไลม์สามารถหมุนไปมาได้
4.3.3 วาล์วตรวจเช็คการทำงานของการหายใจเข้า/ออก
มีลักษณะวาล์วให้ผ่านได้ทางเดียว ฝาครอบ
โปร่งใสมองเห็นการทำงานของวาล์วได้ชัดเจน
4.3.4 มีวาล์วสำหรับปรับแรงดันของวงจรดมยา
(APL Valve)
4.4 เครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ
4.4.1 เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า
(Electrically Controlled Electronically
Driven Ventilator) เพื่อเป็นการประหยัดการใช้ก๊าซ
4.4.2 เครื่องช่วยหายใจมีจอภาพขนาด 10.4
นิ้ว ชนิด TFT color screen
4.4.3 มีระบบ
Ventilator Compliance Compensation
ระหว่างการช่วยหายใจแบบควบคุมด้วยปริมาตร
เพื่อให้ผู้ป่วยได้ปริมาตรตามที่ตั้ง
4.4.4 สามารถเลือกโหมดการช่วยหายใจได้ดังนี้
4.4.4.1 Volume Control
Ventilation
4.4.4.2 Pressure Control
Ventilation
4.4.5 สามารถตั้งค่าปริมาตรการหายใจ
(Tidal Volume) ได้ตั้งแต่ 20-1400 มิลลิลิตร
4.4.6 สามารถตั้งอัตราการหายใจ
(Respiration Rate) ได้ตั้งแต่ 4-60
ครั้งต่อนาที
4.4.7 สามารถกำหนดขีดจำกัดของความดันในทางเดินหายใจได้ตั้งแต่
15-70 เซนติเมตรน้ำ
4.4.8 สามรถตั้ง PEEP ได้ตั้งแต่ 0-20 เซนติเมตรน้ำ
4.4.9 สามารถตั้ง Inspiratory Pause ได้ตั้งแต่ 0-50 เปอร์เซ็นต์
4.4.10 มีสวิทซ์ปิด/เปิดการทำงานของเครื่องจากกระแสไฟฟ้า
220 โวลท์ และระบบไฟสำรอง (Battery
Backup)
ที่สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ไม่ต่ำกว่า 45 นาที
4.4.11 สามารถแสดงค่าพารามิเตอร์ดังต่อไปนี้
4.4.11.1
ค่าปริมาตรของการหายใจ
4.4.11.2 ค่าอัตราการหายใจ
4.4.11.3 ค่าความดันในทางเดินหายใจ
4.4.11.4 ค่า Plateau
Pressure
4.4.12 สามารถแสดงรูปภาพกราฟของความดันในทางเดินหายใจผู้ป่วย
4.5 คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ
4.5.1 เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ที่สามารถตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ,
อัตราการเต้นของหัวใจ, เปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและอุณหภูมิ
4.5.2
สามารถแสดงผลทั้งรูปคลื่นและตัวเลขต่าง ๆ
อยู่ในจอภาพเดียวกัน
4.5.3
สามารถตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง
ๆ ได้ไม่น้อยกว่าดังนี้
4.5.3.1
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( ECG ) และอัตราการหายใจ (Respiration
)
4.5.3.2
ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ( SpO2 )
4.5.3.3
ความดันโลหิตแบบภายนอก (Non Invasive blood Pressure )
4.5.3.4
อุณหภูมิ (Temperature)
4.5.3.5
วัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก (EtCO2)
4.5.4
มีแบตเตอรี่สำรองใช้งานได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
4.5.5
มีระบบพิมพ์ผลค่าการวัด (Thermal Printer)
4.5.6 เฉพาะตัวเครื่องมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม
5
คุณสมบัติทางเทคนิค
5.1 จอภาพเป็นชนิด LED ขนาดไม่น้อยกว่า
12 นิ้ว และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 x 600
pixels
5.2 สามารถแสดงรูปคลื่นได้ไม่น้อยกว่าดังนี้ ECG, SPO2, RESP/GAS
5.3 สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 96 ชั่วโมง
6
ภาควัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอัตราการหายใจ (ECG)
6.1 สามารถเลือกวัดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
โดยเลือกใช้สายชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
6.1.1
ชนิด 3 เส้น เลือกดูได้ I, II, III
6.1.2
ชนิด 5 เส้น เลือกดูได้ I, II, III,
aVR, aVL, aVF, V
6.2 สามารถเลือกค่า Gain ได้ไม่ต่ำกว่า 6 ค่าคือ 0.25, 0.5, 1, 2, 4 และ AUTO
6.3 ผู้ใช้สามารถเลือกปรับเพื่อตัดสัญญาณรบกวน (Filter) ได้ 3 ระดับได้แก่ Normal, Monitor, Extended
6.4 สามารถวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ
6.4.1
ผู้ใหญ่และเด็ก ได้ตั้งแต่
15 – 300 ครั้งต่อนาที
6.4.2
เด็กทารกแรกเกิด ได้ตั้งแต่
15 – 350 ครั้งต่อนาที
6.5 สามารถวัดค่า ST ได้ตั้งแต่ -2 ถึง 2 mV และสามารถตรวจจับ Arrhythmia Analysis ได้ไม่น้อยกว่า 13 ค่า
7
ภาควัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและชีพจรผู้ป่วย
(SpO2)
7.1 สามารถวัดค่า SpO2 ได้ตั้งแต่ 0 ถึง 100 %
7.2 สามารถวัดค่า Low Perfusion
7.3 สามารถวัดชีพจรผู้ป่วยได้ในช่วง 25 – 240 bpm
7.4 ค่าความถูกต้องไม่เกิน + 3 % สำหรับค่า SpO2 และ + 5 % สำหรับค่า PR
8
ภาคการทำงานของชุดวัดความดันโลหิตภายนอก (Non-invasive Blood Pressure)
8.1 หลักการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นแบบ
Oscillometric
8.2 สามารถเลือกการตรวจวัดได้ไม่น้อยกว่า
2 แบบ คือ Manual, Stat และ Auto
8.3 มีระบบบันทึกค่าได้ไม่น้อยกว่า 500
ค่า
8.4 ค่าความถูกต้องไม่เกิน + 3 %
8.5 มีระบบ Initial Inflation Target
8.5.1
ผู้ใหญ่ (Adult) 150
mmHg
8.5.2
เด็ก (Pediatric) 140 mmHg
8.5.3 เด็กแรกเกิด (Neonate) 85 mmHg
8.6 สามารถวัดค่าความดันเลือดได้ทั้งผู้ใหญ่
และเด็กแรกเกิด
8.6.1
Systolic ผู้ใหญ่ (Adult) ได้ตั้งแต่ 30
– 255 มิลลิเมตรปรอท
เด็กแรกเกิด (Neonate) ได้ตั้งแต่ 30 – 135 มิลลิเมตรปรอท
Diastolic ผู้ใหญ่ (Adult) ได้ตั้งแต่ 15 – 220 มิลลิเมตรปรอท
เด็กแรกเกิด (Neonate) ได้ตั้งแต่ 15 – 110 มิลลิเมตรปรอท
Mean ผู้ใหญ่ (Adult) ได้ตั้งแต่ 20 – 235 มิลลิเมตรปรอท
เด็กแรกเกิด (Neonate) ได้ตั้งแต่ 20 – 125 มิลลิเมตรปรอท
9
ภาควัดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วย (Temperature )
9.1 สามารถวัดอุณหภูมิผู้ป่วยได้ ตั้งแต่ 0 ถึง 50
องศาเซลเซียส
9.2 อุปกรณ์ตรวจวัดเป็นแบบ YSI 400 Compatible
9.3 ค่าความถูกต้องไม่เกิน + 2 %
10
ภาควัดอัตราการหายใจ (Respiration
)
10.1 หลักการตรวจวัดเป็นแบบ Impedance
10.2
ค่าอัตราการหายใจได้ในช่วง 0 – 253 BrPM
10.3 ค่าความถูกต้องไม่เกิน + 2 %
11 ภาควัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก
(EtCO2)
11.1
เป็นชนิด Sidestream
11.2
สามารถปรับตั้งค่า Signal Sweep ได้
11.3 สามารถปรับตั้งค่า Signal Scale ได้
12.
อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
12.1 สายก๊าซออกซิเจน,
ไนตรัสออกไซด์ และอากาศพร้อมหัวต่อ จำนวน
1 ชุด
พร้อมใช้กับระบบของโรงพยาบาล
12.2 ชุด
Corrugated Tube, Y-Piece, Anesthetic Bag จำนวน 1 ชุด
12.3 หน้ากากดมยาสลบเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน 1 ชุด
12.4 ถังก๊าซออกซิเจนและไนตรัสออกไซด์ขนาด
E อย่างละ 1 ถัง
12.5 สาย EKG 3 Lead จำนวน 1 เส้น
12.6 ท่อลมสำหรับวัด NIBP พร้อม Cuff สำหรับผู้ใหญ่, เด็กโต อย่างละ 1 ชุด
12.7 สายวัด SpO2 พร้อม Probe สำหรับผู้ใหญ่ อย่างละ
1 ชุด
12.8 Sampling gas line จำนวน 5 เส้น
12.9 Water Trap จำนวน 3 ชิ้น
13.
เงื่อนไขเฉพาะ
13.1 มีคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
จำนวน 1 ชุด
13.2 ผู้ขายต้องรับประกันคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย
1 ปี พร้อมบริการอะไหล่โดยไม่คิดมูลค่า นับแต่วันรับมอบ
ของครบเป็นต้นไป
หากเกิดการชำรุดขัดข้องเนื่องจากการใช้งานตามปกติ และผู้ขายทำการแก้ไขแล้วถึง
2 ครั้ง แต่ยังใช้การไม่ได้
ผู้ซื้ออาจให้ผู้ขายเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วน หรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ภายในกำหนด
เวลาที่ผู้ซื้อกำหนด
13.3 เป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน
13.4 ต้องมีหนังสือแต่งตั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิตหรือได้รับหนังสือรับรองแต่งตั้งจากบริษัท
ผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย
13.5 ก่อนส่งมอบจะต้องจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้สามารถใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องและ
ครบถ้วน อีกทั้งให้คำแนะนำการดูแลรักษาเครื่อง
ข้อควรระวังการใช้เครื่อง การซ่อมบำรุงเบื้องต้น และ
การแก้ไขปัญหาที่พบบ่อย
13.6 บริษัทผู้จำหน่ายสามารถให้ความมั่นใจด้านการบริการหลังการขายโดยมีช่างซึ่งได้รับการฝึกอบรมโดยตรง
จากโรงงานผู้ผลิต
13.7 มีศูนย์สอบเทียบ
(Calibrate) เครื่องทำน้ำยาสลบเหลวให้กลายเป็นไอ (Vaporizer) ภายในประเทศไทย