รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง Ambulance Toyota Commuter | บริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์

ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางนี้นะครับ

บริษัท บีเคเคเฮลท์แคร์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)
รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง Ambulance Toyota Commuter

รายละเอียด รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง Ambulance Toyota Commuter

รถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง (มาตรฐานความปลอดภัย 10 G)
(รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง Ambulance Toyota Commuter)

วัตถุประสงค์
ใช้ในการออกปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยบุคลากรที่เหมาะสมและใช้ขนส่งผู้ป่วยภาวะวิกฤติและฉุกเฉิน

ความต้องการจำเพาะ
1. เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่และความปลอดภัยในชีวิตของแพทย์ พยาบาลและผู้ป่วยกรณี รถพยาบาลเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำบนท้องถนนในขณะนำส่งโรงพยาบาล โดยพัฒนาเตียงผู้ป่วยและชุดเก้าอี้นั่งในห้องพยาบาลให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
2. เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยสู่แพทย์และพยาบาลโดยเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติการต้านสารจุลชีพของพื้น,ผนัง,ฝ้าเพดานในห้องพยาบาล โดยมีรายงานเชิงเทคนิคที่ออกโดยหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ
3. ให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยในระดับBasic Trauma Life Support และ Advanced Life Support ได้
4. มีการจัดตำแหน่งพื้นที่ในการใช้งานและการจัดวางเครื่องมือตามมาตรฐานสากล

คุณลักษณะของรถพยาบาล แบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ
หมวด (ก) คุณลักษณะของรถยนต์
หมวด (ข) คุณลักษณะของครุภัณฑ์การแพทย์

หมวด (ก) คุณลักษณะของรถยนต์มีรายละเอียด ดังนี้
1. คุณลักษณะทางเทคนิคของรถยนต์
1.1 ระบบเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ปริมาตรความจุภายในกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,700 ซีซี มีกำลังเครื่องยนต์สุทธิไม่น้อยกว่า 163 แรงม้า
1.2 ระบบกันสะเทือนมาตรฐานผู้ผลิต หน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแหนบซ้อน พร้อมโช้กอัพ
1.3 ระบบพวงมาลัยขับด้านขวาแรคแอนด์พีเนี่ยน
1.4 ระบบห้ามล้อ มีดิสเบรกล้อหน้า ดรัมเบรกล้อหลังหรือดิสเบรกทั้งสี่ล้อ
1.5 ระบบส่งกำลัง ใช้เกียรกระปุก มีเกียร์เดินหน้าไม่น้อยกว่า 6 เกียร์ และเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์ หรือใช้เกียร์อัตโนมัติ ไม่น้อยกว่า 6 เกียร์และเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์
1.6 ระบบไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ ไม่น้อยกว่า 65 แอมแปร์ พร้อมโคมไฟฟ้าประจำรถ
1.7 ความยาวช่วงล้อหน้า – หลัง ไม่น้อยกว่า 3,800 มิลลิเมตร

2. คุณลักษณะทั่วไป
2.1 เป็นรถที่ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นรถพยาบาล สีขาว สภาพใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน
2.2 ความสูงจากพื้นถึงหลังคาไม่น้อยกว่า 2,280 มิลลิเมตร และความกว้างภายนอกตัวรถ ไม่น้อยกว่า 1,950 มิลลิเมตร สามารถบรรทุกผู้ป่วยนอนในรถได้ไม่ต่ำกว่า 1 คน และผู้โดยสารอื่นได้อีก 3 ที่ ทุกที่มีเข็มขัดนิรภัย
2.3 กระจกเป็นแบบนิรภัยทั้งหมด ติดฟิล์มกรองแสงชนิดมาตรฐานแบบสามารถป้องกันรังสี UV ได้ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ข้างหน้า 2 ข้าง ด้านคนขับความทึบแสงไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นกระจกบังลมด้านหน้าติดฟิล์มกรองแสงชนิดเต็มบานทึบแสงไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
ด้านห้องพยาบาลมีความทึบแสงไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
2.4 ในห้องพยาบาลติดตั้งระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนอิสระ ในชุดแอร์มีการติดตั้ง ระบบ Plasma generator และ Negative Iron Generator ติดตั้งไว้ที่แอร์ด้านหน้าห้องพยาบาลเพื่อฆ่าเชื้อในอากาศก่อนจ่ายลมเย็นออกมา ด้านบนส่วนท้ายของห้องพยาบาลมีระบบฟอกอากาศพร้อมกรองอากาศด้วย Hepa Filter และระบบ UV มาตรฐานสากล โดยตำแหน่งการติดตั้งแอร์มีการควบคุมทิศทางลมให้ไหลผ่านบุคลากรทางการแพทย์ก่อนผู้ป่วยจากหน้าสู่หลังเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้เสนอราคาต้องแสดงรูปแบบและตำแหน่งการติดตั้ง มาในวันเสนอราคา
2.5 ในห้องคนขับติดตั้งเครื่องรับวิทยุระบบ AM/FM/USB พร้อมลำโพง
2.6 ภายในรถมีผนังกั้นทำด้วยไฟเบอร์กลาส แบ่งส่วนระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาล ออกจากกันส่วนบนมีช่องกระจกระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาลเป็นกระจกชนิดไม่สามารถเปิดได้
2.7 มีผนังกั้นแยกระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาลมีโครงเหล็กชนิดเหล็กเหลี่ยมดัดโครงขึ้นรูปแบบไขว้ เสริมที่ผนังกั้นแยกระห่างห้องคนขับและห้องพยาบาล ยึดกับพื้นรถและโครงหลังคาเพื่อเป็นโครงสร้างเสริมสำหรับป้องกันการยุบตัวจากอุบัติเหตุของโครงสร้างของรถตามมาตรฐานการผลิตรถยนต์
2.8 มีชุดสัญญาณไฟฉุกเฉินสีตามกฎหมายกำหนด แถวยาวแบบไฟ LED ติดตั้งด้านหน้ารถเหนือคนขับและชนิดแถวสั้นติดตั้งด้านหลังสุดบนหลังคารถซึ่งสามารถปรับลดความจ้าของแสงได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.8.1 เป็นไฟฉุกเฉินแบบแถวยาว ประกอบด้วย ดวงไฟแบบ LED จำนวนไม่น้อยกว่า 16 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
2.8.1.1 ในแต่ละชุดใช้มีชุดหลอดLED ไม่น้อยกว่า 4ดวง และมีมาตรฐาน การป้องฝุ่นและน้ำ (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) IP( International Protection Standard )ไม่ต่ำกว่า IP65 โดยมีรายงานเชิงเทคนิคที่ให้การรับรองจากสถาบันที่ให้การรับรองภายในประเทศ หรือ ใบรับรองจากต่างประเทศ
2.8.1.2 ฝาเลนส์ครอบดวงไฟทำด้วยวัสดุโพลีคาร์บอเนต ด้านซ้ายมีสีน้ำเงิน และด้านขวามีสีแดง
2.8.2 บนหลังคากึ่งกลางส่วนท้ายติดตั้งไฟแถวสั้น แบบ LED สีน้ำเงิน - แดง จำนวน 1 ชุด
2.8.3 ติดตั้งไฟแบบ LED แบบกระพริบ บริเวณ ด้านข้าง ซ้าย – ขวาของตัวรถด้านละ 3 จุด มีสวิทต์ควบคุมการเปิด – ปิด ได้จากห้องคนขับ และติดตั้งไฟ LED แบบกระพริบบริเวณกระจังหน้ารถ
2.8.4 โดยมีชุดไฟเบอร์กลาสแบบแอร์โรไดนามิค (Aerodynamics)รองรับการติดตั้งชุดสัญญาณไฟฉุกเฉินดังกล่าวเพื่อลดการต้านลมและเสียง
2.8.5 ติดตั้งโคมสปอร์ตไลด์ ชนิด LED ข้างตัวรถ ด้านซ้าย – ขวา บริเวณส่วนหน้าและท้ายสุดของรถ จำนวน 4 ดวง และบริเวณเพดานภายในห้องพยาบาล ส่วนท้ายสุดด้านบน จำนวน 1 ดวง มีสวิทซ์ควบคุมชนิด 2 ทาง สามารถควบคุมการเปิด– ปิด ได้จากห้องคนขับและแผงควบคุมของห้องพยาบาล และมีมาตรฐาน CE และมาตรฐาน IP ไม่น้อยกว่า IP65
2.9 มีเครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพงขนาด 100 วัตต์ ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลท์จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งอยู่ในห้องคนขับ ประกอบด้วย
2.9.1 มีไมโครโฟน มีสวิทซ์สำหรับควบคุมการพูด (Push to Talk) สายไมโครโฟนเป็นแบบ Coiled Tubing เมื่อกดพูดจะตัดเสียงไซเรนอัตโนมัติ พร้อมที่ยึดไมโครโฟน
2.9.2 เลือกปรับเสียงไซเรน ให้ความแตกต่างของเสียงได้ไม่น้อยกว่า 3 เสียง ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.9.3 มีปุ่มปรับเลือกเสียงฉุกเฉินแบบชั่วคราวสามารถประกาศได้ทันทีที่ต้องการและเสียงดังกล่าวสามารถปรับแทรกเข้าไประหว่างเสียงไซเรน
2.9.4 ลำโพงขนาดไม่น้อยกว่า 100 วัตต์ โดยติดตั้งตามความเหมาะสมกับลักษณะรถจำนวน 1 ตัว
2.10 มีเครื่องประจุไฟแบตเตอรี่อัตโนมัติ (Battery Charger) จำนวน 1 เครื่อง
2.10.1 เป็นเครื่องประจุไฟที่สามารถต่อกับปลั๊กเสียบประจำรถ ช่วยรักษาระดับไฟในแบตเตอรี่ให้พร้อมใช้งาน ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
2.10.2 สามารถประจุแบตเตอรี่ ชนิดตะกั่ว – กรดทุกแบบ ทุกขนาด
2.10.3 รับแรงดันไฟฟ้าได้ระหว่าง 220 – 240 VAC
2.10.4 มีระบบตัดการทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อลัดวงจร ต่อสายผิดขั้วและเมื่ออุณหภูมิเครื่องประจุร้อนจัด
2.11 ห้องพยาบาลด้านซ้ายมีประตูปิด – เปิด เป็นชนิดบานเลื่อน และด้านหลังมีประตู ปิด – เปิดแบบเปิดออกซ้ายขวา หรือยกขึ้น – ลง สำหรับยกเตียงผู้ป่วยเข้า – ออกจากรถพยาบาล
2.12 ห้องพยาบาล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.12.1 ภายในห้องพยาบาลต้องได้รับการ พ่นเคลือบสาร Nano Titanium Dioxide (Nano_TiO2)
2.12.1.1 มีความสามารถในการต้านแบคทีเรีย และมีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อและกำจัดกลิ่น
2.12.1.2 ต้องผ่านการทดสอบด้านความเป็นอนุภาคนาโนและประสิทธิภาพในการฆ่า เชื้อแบคทีเรีย จากสถาบันนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
2.12.1.3 ผู้ผลิตรถพยาบาลต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง “ฉลากนาโน (Nano Q)”จาก สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือได้รับแต่งตั้งจาก ผู้ผลิตรถพยาบาลทีได้รับอนุญาตให้ใช้ “ฉลากนาโน (Nano Q)”โดยตรง
2.12.1.4 พร้อมแนบผลการทดสอบการยังยั้งแบคทีเรียของวัสดุที่ใช้ประกอบภายในห้องพยาบาลไม่น้อยกว่า 4 ชนิด ซึ่งผ่านการรับรองจากสถาบันนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พร้อมแสดงรูปตัวอย่างวัสดุ มาในวันเสนอราคา
2.12.1.5 ผนัง ฝ้า เพดาน และพื้น สำหรับห้องพยาบาล ตู้เก็บถังออกซิเจน ตู้เวชภัณฑ์ หรือวัสดุที่เป็นไฟเบอร์กลาสด้านในทั้งหมด ทำการเคลือบผิวด้วยสารนาโนไททาเนี่ยมไดออกไซด์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พร้อมกับติดฉลากนาโน (Nano Q) โดยตามทะเบียนรับรอง(ในที่นี้จะเรียกว่าฉลากนาโน Nano Q) จะต้องเป็นฉลากนาโนประเภทที่มีทะเบียนรับรองให้ใช้กับสีสารเคลือบและมีคุณสมบัติพิเศษยับยั้งเชื้อแบคทีเรียตามที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ผนังและวัสดุของรถพยาบาลในรถพยาบาลเท่านั้น พร้อมแสดงหลักฐานมาในวันเสนอราคา
2.12.2 ราวจับมือสแตนเลส ทำจากสแตนเลสสตีล ขัดขึ้นเงา ไม่เป็นสนิม หรือพลาสติกชนิดที่มีความแข็ง ทนความร้อน สามารถรับน้ำหนักได้สูง
2.12.3 มีจุดยึดสายรั้งตัว สามารถรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 90 กิโลกรัม พร้อมเข็มขัดและสายยึดรั้งตัว และมีชุดเสาแขวนภาชนะใส่น้ำเกลือหรือเลือด
2.12.4 ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา โครงสร้างผลิตจากพลาสติก ทนความร้อน ใช้มอเตอร์ที่ให้กำลังขับเป็นแบบรอบหมุนที่ให้ความเร็วคงที่
2.13 ด้านหลังคนขับออกแบบให้มีเก้าอี้นั่งเดี่ยว 2 ตัว ชนิดมีพนักพิงหันหน้าไปทางด้านท้ายรถ 1 ตัว) ส่วนอีก 1 ตัว เป็นแบบพับเก็บได้พร้อมเข็มขัดนิรภัยชนิดดึงกลับเองไม่น้อยกว่า 3 จุด
2.14 ภายในห้องพยาบาลมีถังออกซิเจนชนิดอลูมิเนียมขนาดความจุน้ำไม่น้อยกว่า 30 ลิตร จำนวน 2 ท่อ และติดตั้งท่อออกซิเจนในแนวตั้ง ยึดติดตั้งภายในห้องพยาบาลอย่างมั่นคงแข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวรถได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และสามารถยกหรือ เลื่อนเพื่อความสะดวกในการนำถังออกซิเจนเข้าและออกจากรถพร้อมอุปกรณ์จับยึดถังออกซิเจนอย่างแน่นหนา
2.15 ตาม ข้อ 2.13 ท่อเก็บออกซิเจนทั้ง 2 เชื่อมต่อกันได้ด้วยท่อทนแรงดัน (ระบบPipeline) ครบชุดโดยมีมาตรฐาน Medical Device Directive 93/42/EEC (MDD) และ ISO 13485และ ISO 9001 หรือ FDA Approved และในระบบเชื่อมต่อนั้นสามารถถอดถังออกซิเจนถังใดถังหนึ่งออกได้ โดยยังสามารถใช้งานถังที่เหลืออยู่ได้ตามปกติ โดยระบบการเชื่อมต่อของแผงPipelineบริเวณผนังเป็นระบบ Push-in Fittings โดยแผงPipeline บริเวณด้านหน้า มีแถบไฟแสดงสถานะปริมาตรของออกซิเจนที่เหลือในถังทั้ง 2 ถังพร้อมกัน เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทวีปยุโรป หรือประเทศสหรัฐอเมริกา
2.16 มีชุดเก้าอี้เดี่ยว 2 ตัว (ด้านซ้ายข้างประตูเลื่อน) ชนิด มีพนักพิง หันหน้าไปทางด้านหน้ารถ ซึ่งสามารถปรับเอนได้ พร้อมเข็มขัดนิรภัย ชนิดดึงกลับเองแบบไม่น้อยกว่า 3 จุด
2.17 ภายในห้องพยาบาลเป็นไฟเบอร์กลาส ด้านหลังคนขับมีที่เก็บถังออกซิเจน จำนวน 2 ถัง และถัดจากที่เก็บถังออกซิเจน ด้านบน เป็นตู้เก็บเวชภัณฑ์แถวเรียง 3 ช่อง พร้อมบานปิดชนิดใส ใต้ตู้เก็บเวชภัณฑ์ติดตั้งรางจำนวน 2 รางสำหรับยึดและติดตั้งอุปกรณ์การแพทย์ มีผลการทดสอบการรับแรงดึงในแนว Fx ทิศตามยาวของรถ และ Fy ทิศตามขวางของรถ ได้ไม่น้อยกว่า200kgf พร้อมแนบเอกสารรายงานผลทดสอบจากหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ (ยื่นเอกสารรับรอง ณ วันที่ยื่นเสนอราคา)
2.17.1 โดยรางสำหรับยึดและติดตั้งอุปกรณ์การแพทย์แต่ละรางมีความยาวไม่น้อยกว่า 1.1 เมตร โดยมีตัวล็อคอุปกรณ์รวมทั้ง 2 รางไม่น้อยกว่า 4 ชุด
2.18 มีชุดแปลงระบบไฟฟ้าจากไฟฟ้ากระแสตรง 12 V เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220-240 VAC 50Hz ขนาดไม่ต่ำกว่า 1,000 วัตต์ (Pure sinewave) โดยระบบไฟฟ้าในห้องพยาบาลสามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ 220V 50 HZ จากแหล่งจ่ายภายนอกตัวรถได้ โดยไม่ทำให้ชุดแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับเสียหาย พร้อมสวิตช์เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้า และชุดสายไฟต่อพ่วง แบบหัว Power Plug ซึ่งมีความยาวไม่น้อยกว่า 15 เมตร
2.19 ในส่วนของห้องพยาบาลมีปลั๊กเสียบชนิด 3 ขา จำนวนไม่น้อยกว่า 4 ช่องเสียบและมีปลั๊กเสียบต่อไฟฟ้าแบบที่จุดบุหรี่ 12V จำนวน 2 ช่อง
2.20 มีสวิทซ์ตัดวงจรไฟฟ้า (Cut – out) ห้องพยาบาลอยู่ในห้องคนขับเพื่อป้องกันการเปิดไฟฟ้าไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ
2.21 ห้องพยาบาลสามารถบรรทุกผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ได้ไม่น้อยกว่า 4 ที่นั่ง ทุกที่นั่ง มีเข็มขัดนิรภัย
2.22 มีชุดฐานสำหรับล็อคเตียงแบบเอียงรับเตียงเมื่อเข็นขึ้น – ลงจากด้านท้ายรถทำด้วยวัสดุ
ที่มีความมั่นคง แข็งแรง สวยงาม พร้อมตัวล็อคอัตโนมัติสำหรับยึดเตียงเมื่อเข็นเตียงขึ้นและด้านท้ายของชุดฐานเป็นที่สำหรับเก็บ Spinal Board หรือเปลตัก (Scoop Stretcher) ได้ ความสูงของชุดฐานนี้ต้องไม่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ ไม่สามารถเข็นเตียงพร้อมผู้ป่วยขึ้นได้โดยสะดวก

3. อุปกรณ์และครุภัณฑ์ประจำรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง
3.1 ครุภัณฑ์และเครื่องมือประจำรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง
3.1.1 ยางอะไหล่พร้อมกระทะล้อ ตามขนาดมาตรฐาน 1 ชุด
3.1.2 แม่แรงยกรถพร้อมด้ามแบบมาตรฐานประจำรถของผู้ผลิต 1 ชุด
3.1.3 ประแจถอดล้อ 1 อัน
3.1.4 เครื่องมือประจำรถตามมาตรฐานผู้ผลิตอย่างน้อย ประกอบด้วย
3.1.4.1 ประแจปากตาย (6ตัว) 1 ชุด
3.1.4.2 ประแจแหวน (6 ตัว) 1 ชุด
3.1.4.3 ประแจเลื่อนขนาด 10 นิ้ว 1 อัน
3.1.4.4 ไขควงขนาด 6 นิ้ว ปากแบน 1 อัน
3.1.4.5 ไขควงขนาด 6 นิ้ว ปากแฉก 1 อัน
3.1.4.6 คีมธรรมดา 1 อัน
3.1.4.7 คีมล็อค 10 นิ้ว 1 อัน
3.1.4.8 ซองหรือกล่องเก็บเครื่องมือข้างต้น 1 ใบ
3.1.4.9 โคมไฟสปอร์ตไลท์พร้อมสายและปลั๊กเสียบ 1 ชุด
3.1.5 เครื่องดับเพลิงน้ำยาเหลวระเหยชนิดไม่มีสาร CFC ขนาดไม่น้อยกว่า 5 ปอนด์พร้อมติดตั้ง 1 ชุด
3.1.6 เครื่องหมายฉุกเฉินสะท้อนแสงรูปสามเหลี่ยม ชนิดถอดตั้งได้ 1 ชุด
3.1.7 ต้องติดสติกเกอร์
3.1.7.1 สติกเกอร์แถบสะท้อนแสงตามมาตรฐานที่การแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) กำหนด (สีเขียวมะนาวลายหมากรุกเป็นมาตรฐานสากล)
3.1.7.2 แสดงชื่อ สัญลักษณ์ หน่วยงาน และหน่วยงานตามที่กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้จัดซื้อกำหนด
3.1.8 เข็มขัดนิรภัยประจำที่นั่งคนขับ และที่นั่งข้างคนตอนหน้า
3.1.9 ระบบการสื่อสารระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาล Intercom
3.1.10 อุปกรณ์ทั้งหมดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ให้เป็นไปตามรูปแบบ (Catalog) และมาตรฐานของผู้ผลิต
3.2 วิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ขนาดกำลังส่ง 25 วัตต์ มีคุณลักษณะดังนี้
3.2.1 เป็นเครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดติดตั้งในรถยนต์
3.2.2 เป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้งานได้ดี ในย่านความถี่ 136 MHz ถึง174 MHz สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ Simplex และ Duplex
3.2.3 ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงไม่ต่ำกว่า 12 Volts
3.2.4 มีช่องความถี่ในการใช้งานไม่น้อยกว่า 11 ช่อง
3.2.5 RF Input/Output Impedance = 50 Ohm
3.2.6 มีวงจร QT/DQT 2 Tone signaling หรือ วงจร CTCSS (Continuous Tone Coded Squelch System) ควบคุมการทำงานของเครื่องวิทยุคมนาคม
3.2.7 เป็นผลิตภัณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือทวีปยุโรป หรือทวีปเอเซีย
3.2.8 สายอากาศ
3.2.8.1 มี Gain ไม่น้อยกว่า 3 dB
3.2.8.2 มี Input Impedance 50 Ohm
3.2.8.3 มีค่า VSWR ≤ 1.5 : 1
3.2.9 เงื่อนไข
3.2.9.1 ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมหรืออุปกรณ์ใดๆของเครื่องวิทยุ คมนาคมจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติโดยนำมาแสดงในวันยื่นซองเสนอราคา
หมวด (ข) คุณลักษณะของครุภัณฑ์การแพทย์ และเงื่อนไขเฉพาะ
1. ครุภัณฑ์การแพทย์
1.1 เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยแบบมีล้อเข็น 1 เตียง มีรายละเอียดดังนี้
1.1.1 ตัวเตียงและโครงทำจากโลหะอลูมินั่ม หรืออลูมิเนียมอัลลอยด์ หรืออลูมิเนียมมีความแข็งแรง สามารถนวดหัวใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้แผ่นกระดานรองหลัง
1.1.2 แผ่นรองตัวผู้ป่วยทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ หรืออลูมิเนียม หรือพลาสติกอย่างดี
1.1.3 พนักพิงหลังสามารถปรับระดับได้
1.1.4 มีเบาะรองนอนตลอดความยาวของเตียงสามารถพับได้สะดวกตามลักษณะของเตียง และถอดล้างทำความสะอาดได้ พร้อมสายรัดผู้ป่วยอย่างน้อย 2 เส้น
1.1.5 น้ำหนักเตียงรวมอุปกรณ์ประกอบไม่เกิน 50 กิโลกรัม สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ ไม่น้อยกว่า 250 กิโลกรัม
1.1.6 มีที่เสียบเสาน้ำเกลือ พร้อมเสาน้ำเกลือ จำนวน 1 เสา สามารถปรับระดับ สูง – ต่ำได้ และยึดติดกับโครงเตียงได้อย่างมั่นคง
1.1.7 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราค
1.1.8 มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา (เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.2 ชุดล็อคศีรษะกับแผ่นกระดานรองหลังผู้ป่วย (Head Immobilizer) จำนวน 1 ชุด มีรายละเอียด ดังนี้
1.2.1 ผลิตจากก้อนโฟมขึ้นรูปที่มีความหนาแน่นสูง มีช่องขนาดใหญ่อยู่บริเวณระนาบเดียวกับช่องหูเพื่อสังเกตอาการผู้ป่วยสามารถใช้ร่วมกับ Spine Board หรือ Scoop Stretcherได้
1.2.2 อุปกรณ์ชนิดนี้ไม่รบกวน X-RAY/CT ผิวโดยรอบก้อนโฟมชุบเคลือบด้วยโพลียูรีเทนเหลวสามารถกันน้ำได้ ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด
1.2.3 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 และ ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.2.4 มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา (เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.3 ชุดแผ่นรองหลังผู้ป่วย (Long Spinal Board) จำนวน 1 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
1.3.1 ผลิตจาก Polyethylene ทนแรงกระแทก มีความกระชับเมื่อรัดเข็มขัด Safety Belt
1.3.2 สามารถ X-RAY/CT ผ่านได้
1.3.3 สามารถใช้ร่วมกับชุดล็อคศีรษะ
1.3.4 มีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 180 ซม. มีความกว้างสูงสุดไม่น้อยกว่า 41 ซม. มีความหนาพร้อมฐานไม่เกิน 7 ซม.
1.3.5 น้ำหนักไม่เกิน 7 กก.
1.3.6 รับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 180 กก.(แนบเอกสารรับรองจากหน่วยงานราชการ)
1.3.7 บริษัทฯ รับรองการจัดหาอะไหล่ได้ระยะเวลา 5 ปี
1.3.8 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 และ ISO13485 พร้อม แนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.3.9 มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา (เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.4 ชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสำหรับผู้ใหญ่ 1 ชุด และชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสำหรับเด็ก 1 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย
1.4.1 ถุงลมสำหรับบีบอากาศช่วยหายใจผลิตจากยางซิลิโคน จำนวน 1 ชิ้น
1.4.2 ท่อหรือถุงสำรองออกซิเจนจำนวน 1 ชิ้น
1.4.3 หน้ากากครอบปากและจมูก (Mask) ผลิตจากยางซิลิโคน แบบโปร่งใส จำนวน 3 ขนาด ขนาดละอย่างน้อย 1 อัน
1.4.4 ท่อยางป้องกันคนไข้กัดลิ้น ( Oropharyngeal Airway ) จำนวน 5 อัน
1.4.5 กล่องบรรจุอุปกรณ์
1.4.6 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.5 ชุดเครื่องมือส่องหลอดลม (Laryngoscope) จำนวน 1 ชุด มีคุณลักษณะดังนี้
1.5.1 เป็นชุดเครื่องมือส่องตรวจหลอดลมให้แสงสว่างโดย ระบบ LED หรือ ฮาโลเจนหรือซีนอน
1.5.2 ด้ามมือจับและแผ่นส่องตรวจทำด้วยสแตนเลส หรือโลหะผสม
1.5.3 แผ่นส่องตรวจ (Blade) จำนวน 5 ขนาด
1.5.4 มีกล่องเก็บอุปกรณ์อย่างดีมีช่องแยกเป็นสัดส่วนของอุปกรณ์แต่ละชิ้น
1.5.5 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.6 เครื่องดูดของเหลว (Suction Pump) จำนวน 1 เครื่อง มีรายละเอียดดังนี้
1.6.1 ใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลต์ และกระแสสลับ 220 โวลท์ และมีแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ภายในตัวเครื่องมีหูหิ้วน้ำหนักไม่เกิน 4.5 กิโลกรัม
1.6.2 มีปุ่มควบคุมแรงดูด พร้อมมาตรวัดแสดงแรงดูด
1.6.3 สามารถปรับแรงดูดสูงสุดได้ไม่ต่ำกว่า 630 มิลลิบาร์ และอัตราการไหลของอากาศสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อนาที
1.6.4 ภาชนะบรรจุของเหลวมีขนาดปริมาตรไม่ต่ำกว่า 800 มิลลิลิตร จำนวน 1 ใบ
1.6.5 มีสายดูด (Suction Tubing) ยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร
1.6.6 แบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องเป็นแบบที่สามารถทำการชาร์จไฟได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ไฟหมดและมีสัญญาณบ่งชี้กรณีแบตเตอรี่ใกล้จะหมด
1.6.7 สามารถรองรับการติดตั้งด้วยการยึดกับผนัง (wall bracket) ในรถพยาบาลแบบ 10G
1.6.8 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.7 เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดฝาผนัง จำนวน 1 เครื่อง มีรายละเอียดดังนี้
1.7.1 เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดหน้าปัด Aneroid ติดผนัง
1.7.2 สามารถวัดความดันโลหิตได้ไม่น้อยกว่า 0 – 300 มิลลิเมตรปรอท มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±3 มิลลิเมตรปรอท
1.7.3 มีผ้าพันแขนสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก อย่างละ 1 ชุด และผ้าพันขาผู้ใหญ่ 1 ชุดเป็นชนิดปะติด(Velcro Fastener)
1.7.4 สายยางต่อจากผ้าพันแขนเป็น แบบ Coiled Tubing
1.7.5 ลูกยางสำหรับอัดลมผ้าพันแขนเป็นลูกยางแบบมาตรฐาน
1.7.6 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.8 กระเป๋าช่วยชีวิตฉุกเฉิน จำนวน 1 ชุด มีคุณลักษณะพร้อมอุปกรณ์บรรจุอยู่ในกระเป๋าดังต่อไปนี้
1.8.1 เป็นกระเป๋าสะพายและมีหูหิ้วทำด้วยวัสดุกันน้ำ
1.8.2 มีที่เก็บหลอดยาชนิดรูเสียบ
1.8.3 สามารถบรรจุถังบรรจุออกซิเจน ขนาด 2 ลิตร (400 ลิตรออกซิเจน) ภายในกระเป๋าอีก 1 ท่อ และอีก 1 ท่อ สำรองไว้ในรถ
1.8.3.1 ถังบรรจุออกซิเจนทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ชนิดเบา เป็นถังไร้ตะเข็บรอยต่อ
1.8.3.2 การเปิด – ปิด ถังออกซิเจนสามารถกระทำได้โดยสะดวก
1.8.4 มีชุดปรับความดัน (Regulators) จำนวน 1 ชุด
1.8.4.1 วัสดุทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์หรือทองเหลือง
1.8.4.2 สามารถปรับแรงดันใช้งานได้ตั้งแต่ 0 – 15 ลิตรต่อนาที
1.8.4.3 มีข้อต่อ D.I.S.S. 2 ตำแหน่งเพื่อต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ
1.8.4.4 มีข้อต่อหางปลา จำนวน 1 ตำแหน่งเพื่อต่อเข้าหน้ากากออกซิเจน
1.8.5 เครื่องวัดความดันโลหิต Digital จำนวน 1 ชุด
1.8.6 หูฟัง (Stethoscope) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ชุด
1.8.6.1 หูฟังสามารถฟังได้ทั้งสองด้าน โดยวิธีหมุนไปมาบริเวณหัวฟังเพื่อฟังเสียงความถี่สูงหรือต่ำ
1.8.6.2 หัวฟัง (Chest piece) ทำจากโลหะผสมประกอบเป็น 2 ด้าน ด้าน Bell และด้าน Diaphragm
1.8.6.3 ก้านหูฟังทำจากโลหะสังเคราะห์
1.8.6.4 เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทวีปยุโรป หรือประเทศสหรัฐอเมริกา
1.8.7 ไฟฉายส่องรูม่านตา จำนวน 1 อัน
1.8.7.1 ตัวกระบอกผลิตขึ้นจากโลหะสังเคราะห์น้ำหนักเบา สามารถป้องกันการกระแทก ใช้หลอดไฟแบบฮาโลเจน หรือ LED
1.8.7.2 มีน้ำหนักเบา
1.8.7.3 สามารถปิด – เปิด ใช้งานได้ง่ายด้วยมือข้างเดียว
1.8.7.4 เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทวีปยุโรป หรือประเทศสหรัฐอเมริกา
1.8.8 สายดูดเสมหะ (Suction Tube) จำนวน 6 เส้น
1.8.9 ท่อช่วยหายใจพร้อมหัวต่อ (Endotracheal tube with connectors) เบอร์ 8, 7.5, 6.5, 6, 5.5, 5, 4.5, 4, 3.5 และ 3 ไม่น้อยกว่าอย่างละ 1 เส้น
1.8.10 คีมจับ (Magill Forceps) ของผู้ใหญ่และเด็ก จำนวนอย่างละ 1 อัน
1.8.11 กรรไกรตัดพลาสเตอร์ (Bandage scissor) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 อัน
1.8.12 กระบอกฉีดยาขนาด 10 ซีซี (Syringe 10 cc.) จำนวน 10 อัน
1.8.13 พลาสเตอร์ (Adhesive plaster) ขนาดกว้าง 1 นิ้ว จำนวน 1 ม้วน
1.9 เครื่องตรวจวัดปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและสัญญาณชีพจร (Pulse Oximeter) พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานและ Finger Clip sensor จำนวน 1 เครื่อง มีรายละเอียดดังนี้
1.9.1 สามารถตรวจวัดและแสดงปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ได้ตั้งแต่ 1 - 100 เปอร์เซ็นต์ ความแม่นยำในช่วง 70-100% คลาดเคลื่อนไม่เกิน ±2 %
1.9.2 สามารถตรวจวัดและแสดงสัญญาณชีพจร (Pulse) ได้ค่าตั้งแต่ 30 ถึง 240 ครั้งต่อนาทีหรือกว้างกว่าและแสดง SpO2 Wave form บนหน้าจอได้
1.9.3 มีความถูกต้องในการวัดอัตราการเต้นของชีพจร (Pulse) โดยคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±2 ครั้งต่อนาทีในกรณีไม่มีการเคลื่อนไหว
1.9.4 มีเสียงและสัญลักษณ์เตือน 3 ระดับในกรณีที่ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2)และสัญญาณชีพจร (Pulse) สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
1.9.5 รองรับการใช้งานในระดับความสูงไม่เกิน 5,000 เมตร
1.9.6 สามารถดูข้อมูลย้อนหลังแบบ กราฟิก ( graphical trend review) ต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง
1.9.7 สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 99 รหัสของผู้ป่วย
1.9.8 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.9.9 มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา (เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.10 ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน (Cervical collar) จำนวน 1 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
1.10.1 โครงภายนอกเป็นพลาสติก ส่วนภายในเป็นโฟมอ่อน
1.10.2 ประกอบติดกัน โดยสายรัดแบบปะติด (Velcro Fastener)
1.10.3 ส่วนหน้ามีช่องสำหรับการเจาะหลอดลม
1.10.4 มีขนาดสำหรับเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ไม่น้อยกว่า 3 ขนาด รวมทั้งหมดจำนวน 9 ชิ้น
1.10.5 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 พร้อม แนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.11 ชุดเฝือกลมสุญญากาศ แบบแยกชิ้น
1.11.1 เป็นเฝือกลมสุญญากาศ ใช้สำหรับดามแขน-ขา ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เฝือก ลม มี ทั้งหมด 3 ชิ้นประกอบด้วย เฝือกดามแขน 2 ชิ้น และเฝือกดามขา 1ชิ้น
1.11.2 มีกระบอกสำหรับสูบลม 1 อัน
1.11.3 มีกระเป๋าสำหรับเก็บอุปกรณ์ จำนวน 1 ใบ
1.12 อุปกรณ์ดามหลังชนิดสั้น (Kendrick Extrication Device) สำหรับดามหลังผู้ที่ รับบาดเจ็บที่ยังติดอยู่ในซากรถ หรือใช้ดามกระดูกเชิงกรานผู้บาดเจ็บ มีรายละเอียดดังนี้
1.12.1 โครงสร้างภายในผลิตจาก PVC ที่มีความทนทาน และง่ายต่อการทำความสะอาด
1.12.2 โครงสร้างภายนอกประกอบด้วย เข็มขัด 3 สี คือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง
1.12.3 การใช้งานเมื่อผู้ป่วยสวม Body Splint แล้ว หากเกิดช่องว่างระหว่างตัวของผู้ป่วยกับชุดเฝือกดามหลัง สามารถใช้เบาะยาวที่อยู่ในชุดช่วยเสริมช่องว่างให้กับผู้ป่วยเพื่อให้ชุดเฝือกดามหลังกระชับตัวผู้ป่วยยิ่งขึ้นบริเวณศรีษะสามารถใช้งานร่วมกับชุดล็อกศรีษะ(Head Immobilize) จากนั้น จึงทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป
1.13 เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Glucose Meter)
1.13.1 วัดน้ำตาลได้ตั้งแต่ 20-600 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
1.13.2 ใช้วัสดุแผ่นทดสอบจำเพาะซึ่งสามารถซึมซับเลือดเข้าเครื่อง เพื่อที่เครื่องจะวิเคราะห์หาระดับน้ำตาล
1.13.3 สามารถใช้เลือดจากเส้นเลือดฝอย (Capillary) บริเวณนิ้วมือหรือแขนในการตรวจได้
1.13.4 ใช้เวลาในการอ่านค่าไม่เกิน 10 วินาที
1.13.5 มีแผ่นทดสอบมาพร้อมกับเครื่องไม่น้อยกว่า 20 แผ่น
1.14 เก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ชนิดเข็นและสามารถพับเก็บได้ ( Stair Chair)
1.14.1 เก้าอี้ทำด้วยโลหะปลอดสนิมมีพนักพิง สามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ได้ใช้งาน
1.14.2 ส่วนที่รองนั่งและพนักพิงผู้ป่วยเป็นพลาสติกขึ้นรูปหรือผ้าใบกันน้ำรับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดีกันน้ำ สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย
1.14.3 มีที่จับสำหรับยกเก้าอี้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก
1.14.4 ส่วนฐานล่างของพนักพิงเป็นล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อช่วยให้เคลื่อนย้ายในการเข็นแบบแนวราบได้สะดวกมากขึ้น
1.14.5 สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่า 150 กิโลกรัม
1.14.6 น้ำหนักรวมไม่เกิน 15 กิโลกรัม
1.14.7 เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 และ ISO13485 พร้อม แนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.14.8 มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา (เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.15 เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า(Defibrillator)
1.16 เครื่องช่วยหายใจแบบอัตโนมัติชนิดเคลื่อนที่ได้ (Portable)

#รถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง #มาตรฐานความปลอดภัย10G #รถพยาบาล #รถAmbulance
#รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง #AmbulanceToyotaCommuter

link สินค้า

tags

สินค้าที่คล้ายกัน